FAQ (คำถามที่พบบ่อย)

กรณีเจ้าของเอกสารมารับรองเอกสารด้วยตนเอง

คนไทยใช้สำเนาบัตรประชาชน คนต่างชาติใช้สำเนาหนังสือเดินทางต่างประเทศ

กรณีที่ไม่ใช่เจ้าของเอกสาร

จะต้องมีหนังสือมอบอำนาจจากเจ้าของเอกสาร พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ ทั้งนี้ เอกสารที่จะรับรองจะต้องมีต้นฉบับมาแสดงด้วยเสมอ

ทั้งนี้ ต้องนำเอกสารไทยที่จะไปใช้ในประเทศฝรั่งเศสไปรับรองสำเนาถูกต้องที่กองสัญชาติฯ กระทรวงการต่างประเทศก่อน แล้วนำมาติดต่อสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส เพื่อรับรองการแปลเป็นภาษาฝรั่งเศสอีกชั้นหนึ่ง

นำต้นฉบับของเอกสารภาษาไทยมาแสดงที่สถานเอกอัครราชทูตฯ พร้อมถ่ายสำเนา 1 ชุด เพื่อรับรอง

  • กรณีบิดาสัญชาติไทย จดทะเบียนสมรสกับ มารดาสัญชาติไทย บุตรได้สัญชาติไทย
  • กรณีบิดาสัญชาติไทย ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับ มารดาสัญชาติไทย บุตรได้สัญชาติไทย
  • กรณีบิดาสัญชาติไทย จดทะเบียนสมรสกับ มารดาต่างสัญชาติ บุตรได้สัญชาติไทย
  • กรณีบิดาสัญชาติไทย ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับ มารดาต่างสัญชาติ บุตรไม่ได้สัญชาติไทย
  • กรณีบิดาต่างสัญชาติ จดทะเบียนสมรสกับ มารดาสัญชาติไทย บุตรได้สัญชาติไทย
  • กรณีบิดาต่างสัญชาติ ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับ มารดาสัญชาติไทย บุตรได้สัญชาติไทย

คนไทยที่แปลงสัญชาติเป็นคนต่างด้าวย่อมเสียสัญชาติไทย แต่จะมีผลก็ต่อเมื่อมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วเท่านั้น

ไม่ได้ เพราะการสละสัญชาติไทยต้องกระทำเมื่ออายุครบ 20 ปีไปแล้ว และเนื่องจากการสละสัญชาติเป็นเรื่องเฉพาะตัว ผู้อื่นจึงไม่อาจยื่นคำร้องขอสละสัญชาติแทนได้

ต้องเกณฑ์ โดยเมื่ออายุครบ 17 ปี ให้ไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกิน ทั้งนี้ หากศึกษาอยู่ต่างประเทศ สามารถทำเรื่องขอผ่อนผันการเกณฑ์ทหารได้ โดยยื่นเอกสารรับรองจากสถาบันการศึกษาที่ระบุระยะเวลาศึกษาชัดเจน เพื่อให้สถานทูตออกหนังสือผ่อนผันฯ

ได้ เนื่องจากไม่มีข้อห้ามไว้แต่อย่างใด และไม่ถือว่าเป็นการเลือกสัญชาติ

จะจดทะเบียนตามกฎหมายไทย หรือกฎหมายต่างชาติก็ได้ และหากจดตามกฎหมายต่างชาติแล้วก็จะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายไทยด้วย สถานทูตจึงไม่จำต้องจดทะเบียนฯ ที่สถานทูตให้อีก

ไม่ได้ แม้ว่ากฎหมายไทยได้ยอมรับการจดทะเบียนสมรสระหว่างคนไทยกับคนต่างชาติตามแบบกฎหมายต่างชาติ แต่การจดทะเบียนฯ นั้นมิใช่การจดทะเบียนฯ ตามแบบกฎหมายไทย ดังนั้น การหย่าตามแบบกฎหมายไทยจึงกระทำไม่ได้

ได้ โดยนำทะเบียนสมรสไปรับรองและแปลตามระเบียบนิติกรณ์แล้วจึงนำไปขดจดทะเบียนสถานะแห่งครอบครัวที่เขต/อำเภอ ที่มีทะเบียนบ้านอยู่

สถานเอกอัครราชทูตฯ ไม่สามารถออกหนังสือรับรองความเป็นโสดได้ ในกรณีที่อยู่ต่างประเทศ บุคคลนั้นต้องมาทำหนังสือมอบอำนาจต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ ให้บุคคลในประเทศไทยไปดำเนินการออกหนังสือรับรองความเป็นโสดแทนเจ้าตัว

  1. หากบิดามารดาจดทะเบียนสมรส : ให้ใช้ชื่อสกุลบิดาได้ แต่หากทั้งบิดาและมารดายินยอม เด็กจะใช้นามสกุลของมารดาแทนก็ได้ (สถานทูตต้องสอบปากคำและบันทึกไว้)
  2. หากบิดามารดาไม่จดทะเบียนฯ : ให้ใช้นามสกุลมารดาได้ หากจะใช้ นามสกุลบิดา มารดาต้องให้ความยินยอมก่อน หากใบเกิดท้องถิ่นของบุตรใช้นามสกุลบิดาให้สอบปากคำมารดาว่ายินยอมให้บุตรใช้นามสกุลบิดาหรือไม่หากยินยอมให้ออกสูติบัตรตามนั้น

ได้ หากทั้งบิดาและมารดายินยอมเช่นนั้น ส่วนสถานทูตในฐานะนายทะเบียนจะต้องทำบันทึกสอบปากคำไว้ด้วย

ได้ เพราะ พ.ร.บ. ชื่อบุคคล 2505 มิได้ห้ามไว้ ทั้งนี้ แม้ว่าประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีจะกำหนดไว้ว่าชื่อต้องมีความหมายในภาษาไทยและไม่เกิน 3 พยางค์ก็ตาม

หลักการของการรับรองบุตร คือ มารดาและเด็กจะต้องให้ความยินยอมทั้งสองคน ดังนั้น หากเด็กยังสื่อความหมายได้ได้ ไม่ว่าจะมีอายุเท่าใด ก็ไม่อาจจดทะเบียนรับรองบุตรได้ หรือหากมารดาเป็นคนไร้ความสามารถหรือถึงแก่ความตายก็ต้องรับรองบุตรโดยใช้คำพิพากษาของศาล

ไม่ได้ ต้องให้สำนักทะเบียนในไทยแก้ไขนามสกุลของบุตรบุญธรรมในทะเบียนบ้านก่อน หลังจากนั้น จึงแก้ไขชื่อสกุลในหนังสือเดินทาง

ได้ หากผู้นั้นเป็นผู้มีอำนาจปกครองบุตรตามข้อตกลงการหย่า ทั้งนี้ โดยอีกฝ่ายไม่จำเป็นต้องให้ความยินยอม

ไม่ได้ เพราะการจะเปลี่ยนนามสกุลตามผู้รับได้ ต้องดำเนินการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตามกฎหมายไทยเสียก่อน

  1. หากผู้เป็นบุตรบุญธรรมบรรลุนิติภาวะแล้วสามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง แต่หากยังไม่บรรลุนิติภาวะ ผู้ปกครอง (บิดา-มารดาบุญธรรม) ต้องดำเนินการแทน
  2. มท. ผ่อนผันให้มีการเปลี่ยน ชื่อ/สกุล ได้ด้วยวิธี ดังต่อไปนี้
    2.1) กรอกแบบ ช1.
    2.2) มี นส. มอบอำนาจให้ผู้อื่นในประเทศไทยไปดำเนินการแทนได้ ทั้งนี้ นส. มอบอำนาจนี้ต้องกระทำ ณ สอท./สกญ.
  3. สถานที่ติดต่อหรือเปลี่ยนแปลงนามสกุล คือ ภูมิลำเนาในประเทศไทยของผู้เป็นบุตรบุญธรรม มิใช่กรมประชาสงเคราะห์

ได้ แต่ไม่มีผลตามกฎมายไทย อันมีนัยว่า ผู้เยาว์นั้นไม่สามารถใช้นามสกุลของชาวต่างชาติที่เป็นผู้รับบุตรบุญธรรมได้ แต่ผู้นั้นสามารถนำมาเป็นหลักฐานเพื่อขอให้มีการบันทึกฐานะแห่งครอบครัวเพื่อการพิสูจน์ได้อ้างอิง

การรับบุตรบุญธรรม กฎหมายไม่ได้จำกัดอายุของบุตรบุญธรรม แต่อายุของผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรม จะต้องห่างกันไม่น้อยกว่า 15 ปี

ได้ เพราะใบสำคัญถิ่นที่อยู่และเอกสารการเดินทางฯ มิใช่ประเด็นของการออกมรณบัตร ทั้งนี้ ขอให้หมายเหตุไว้บนมรณบัตร ว่า “บุคคลต่างด้าวมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไทย”

พ.ร.บ. การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 มาตรา 28 กำหนดให้ สอท. / สกญ. มีหน้าที่รับจดทะเบียนคนเกิดและคนตายที่มีขึ้นนอกราชอาณาจักร สำหรับคนสัญชาติไทยและคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ดังนั้น นายทะเบียนจะต้องตรวจพิสูจน์ข้อเท็จจริงเป็นราย ๆ ว่าผู้ตายมีสัญชาติไทย หรือเป็นคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยหรือไม่ โดยพิจารณาหลักฐานเอกสาร และสอบพยานบุคคลใกล้ชิด และผู้น่าเชื่อถือ (ถ้ามี) ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น สอท. / สกญ. ก็สามารถรับจดทะเบียนคนตายได้

คนต่างด้าวไม่สามารถถือกรรมสิทธิ์ที่ดินในประเทศไทยได้ ยกเว้น ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินในฐานะทายาทโดยชอบธรรม และต้องไม่เกินจำนวนที่กฎหมายกำหนดไว้ (คือ เพื่ออยู่อาศัยต้องไม่เกิน 1 ไร่/ครอบครัว เพื่อการพาณิชยกรรมต้องไม่เกิน 1 ไร่ เพื่อการอุตสาหกรรมต้องไม่เกิน 10 ไร่ เพื่อการเกษตรกรรมต้องไม่เกิน 10 ไร่/ครอบครัว เพื่อการศาสนาต้องไม่เกิน 1 ไร่ เพื่อการกุศลและสาธารณะต้องไม่เกิน 5 ไร่ และสุสานของตระกูลต้องไม่เกิน 1/2 ไร่) นอกจากนี้ นับแต่ปี 2542 คนต่างด้าวที่นำเงินมาลงทุนในไทยไม่น้อยกว่า 40 ล้านบาท สามารถมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยได้ไม่เกิน 1 ไร่

ได้ หากว่าการซื้อที่ดิน หรือห้องชุดนั้นเป็นการจัดซื้อเพื่อให้เป็นสินส่วนตัวของตนเอง แต่ทั้งนี้คนไทยผู้ขอซื้อ และคู่สมรสที่เป็นชาวต่างชาติต้องมีหนังสือยืนยันเป็นหนังสือว่าเงินที่นำมาซื้อนั้นเป็นสินส่วนตัวของคนไทยผู้ขอซื้อ มิใช่สินสมรส ทั้งนี้ ไม่ว่าบุคคลทั้งสองจะจดทะเบียนฯ หรือไม่ก็ตาม โดยให้คู่สมรสที่เป็นคนต่างชาติไปติดต่อสถานทูตไทยเพื่อบันทึกถ้อยคำเป็นลายลักษณ์อักษร และรับรองว่าบุคคลที่ทำหนังสือรับรองนั้นเป็นคู่สมรสของบุคคลสัญชาติไทยจริง และนำหนังสือรับรองนี้มามอบให้เจ้าพนักงานที่ดินที่จะทำการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม

ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตขับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. 2536 กำหนดให้ชาวต่างชาติที่จะขอรับใบอนุญาตขับขี่ระหว่างประเทศของไทย ต้องใช้หลักฐานประกอบคำขอดังต่อไปนี้

  1. ใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลหนึ่งปี ใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ หรือใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ ตามกฎหมายไทย ซึ่งยังไม่สิ้นอายุ (โดยผู้ที่จะได้รับใบอนุญาตขับรถดังกล่าวได้จะต้องได้รับใบอนุญาตขับรถชนิดชั่วคราวมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี) พร้อมภาพถ่าย
  2. หนังสือเดินทาง (VISA ประเภท NON-IMMIGRANT) พร้อมภาพ 
  3. ใบรับรองถิ่นฐานที่อยู่ในประเทศไทย ออกโดยสถานทูต หรือหน่วยงานราชการ
  4. รูปถ่ายขนาด 4×6 เซนติเมตร (2 นิ้ว) จำนวน 2 รูป (ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน)
  5. หนังอมอบอำนาจ ติดอากรแสตมป์ 10 บาท และบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (กรณีไม่สามารถมาดำเนินการด้วยตนเอง)